Wednesday 20 August 2008

ด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม

ด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม
วรรณกรรม พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงเชี่ยวชาญ ในทาง อักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง บทพระราชนิพนธ์ มีเป็น จำนวนมาก ทั้งร้อยแก้ว และ ร้อยกรอง รวมทั้ง จดหมายเหตุรายวัน พระราชหัตถเลขา พระบรม ราชาธิบาย และพระราช วิจารณ์ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้ว แต่มีคุณค่า ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกวีเอกที่ยิ่งใหญ่พระองหนึ่งในแผ่นดินสยาม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้อย่างมากมาย พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน ที่ได้รับความนิยมและใช้เป็นส่วนหนึ่งของแบบเรียนคือ

1. ลิลิตนิทราชาคริต ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ.2421 โดยใช้ทำนองแต่งด้วยโครงสี่สุภาพ อาศัยเค้าโครงเรื่องจากนิทานอาหรับโบราณ ทรงพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อ พระราชทานให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

2. พระราชพิธีสิบสองเดือน ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ.2431 ลงพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือวชิรญาณ ใช้สำนวนร้อยแก้ว เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน

3. บทละครเรื่อง เงาะป่า ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ.2448 ในขณะที่ทรงพระประชวรพระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นบทละคร พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาจนทุกวันนี้

4. ไกลบ้าน ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2449 เป็นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานพดล เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในครั้งที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้วโดยเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้มีโอกาสได้ทอดพระเนตรในระหว่าง 9 เดือน ที่เสด็จประพาสยุโรป

5. พระราชวิจารณ์ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยจุดประสงค์ในการพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อพระราชทานเป็นความรู้แก่นักวิชาการ ที่ต้องการค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านในเรื่องด้านต่างๆ ลักษณะของงานพระราชนิพนธ์ฉบับนี้ มีลักษณะคล้ายกับจดหมายเหตุ

ศิลปกรรม และ สถาปัตยกรรม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่ ๆ เป็นตึกขึ้น หลายองค์ แทนพระที่นั่งเดิมซึ่งทำด้วยไม้และเริ่มผุพัง ที่สำคัญที่สุด คือ พระที่นั่งจักรี มหาปราสาท ในพระบรม มหาราชวัง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม ที่แปลก และ งดงามมาก ตอนปลายรัชกาล โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระราชวังดุสิต พร้อมทั้งสร้าง ถนนติดต่อ ระหว่าง พระบรมมหาราชวัง กับ พระราชวังดุสิต พระราชทานนามว่า ถนนราชดำเนิน นอกจากนี้ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระที่นั่งอนันต สมาคม เป็นตึกหินอ่อน ขนาดใหญ่ พระที่นั่งองค์นี้แล้ว เสร็จในรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีความปรารถนาจะส่งเสริม วรรณกรรม และ กวีของชาติให้เจริญก้าวหน้า ยิ่งขึ้นโดยลำดับ ทั้งพระองค์เองก็ทรงเป็นนักกวีที่สามารถ ดังจะเห็นว่า พระองค์ทรงประพันธ์โคลงสี่สุภาพ เป็นคติสอนใจประชาชนไว้จำนวนมาก นอกจากจะไพเราะจับใจแล้ว พระราชนิพนธ์ของพระองค์ทุกบทแฝงด้วยคติธรรมที่ดีงาม ทั้งสิ้น ดังเช่นโคลงบทหนึ่ง
ความรู้คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญาประดุจดัง อาวุธ
คุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม