Wednesday 20 August 2008

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ครั้งแรก
เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑

เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ครั้งที่สอง
เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖

พระราชประวัติ และพระราชกรณีกิจ
พระบาท สมเด็จ พระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า สมเด็จ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ฯ เป็น พระราชโอรส ในพระบาท สมเด็จ พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว และ สมเด็จ พระเทพ ศิรินทรา บรมราชินี พระราช สมภพ เมื่อ วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ มีพระขนิษฐา และ พระอนุชา ร่วมสมเด็จ พระบรมราชนี ๓ พระองค์ คือ
๑. สมเด็จ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทร มณฑล โสภณภควดี กรมหลวง วิสุทธิกษัตริย์
๒. สมเด็จ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์ รัศมี กรมพระจักร พรรดิพงศ์ ต้นราชสกุล จักรพันธุ์
๓. จอมพล สมเด็จ พระราช ปิตุลาบรม พงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณ ุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา ภาณุพันธุวงศ์ วรเดช ต้นราชสกุล ภาณุพันธุ์

เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์ ทรงศึกษา ในสำนัก พระเจ้า บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า บุตรี กรมหลวง วรเสรฐสุดา พระราชธิดา ใน พระบาท สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นขัตติย ราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ ด้านอักษรศาสตร์และ โบราณ ราชประเพณี อย่างดียิ่ง นอกจากนั้น ทรงศึกษาภาษามคธ กับ พระยาปริยัติ ธรรมธาดา (เนียม) เมื่อเป็นหลวง ราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิต ทรงศึกษา วิชาการยิง ปืนไฟ จากสำนัก พระยา อภัยศรเพลิง(ศรี) วิชา คชกรรม กับ สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า มหามาลา กรมพระยา บำราบปรปักษ์ และ วิชาการอื่น ๆ อันสมควร แก่บรมราชกุมาร ส่วนภาษาอังกฤษ ทรงศึกษา จากชาวต่าง ประเทศ โดยตรง คือ นางแอนนา เลียวโนเวนส์ หมอจันดเล และ นายแปตเตอร์สัน จนกระทั่ง มีพระราชกิจมากขึ้น ไม่อาจศึกษา กับ พระอาจารย์ได้ ก็ได้ทรงพระอุตสาหะ ศึกษาด้วย พระองค์เอง จนทรงมี ความรู้ ภาษาอังกฤษ แตกฉาน ส่วนในด้านวิชาการ รัฐศาสตร์ ราชประเพณี และ โบราณคดีนั่น สมเด็จ พระบรม ชนกนาถ เป็นผู้พระราชทาน การฝึกสอน ตลอดมา
ปีพุทธศักราช ๒๔๐๔ ทรงได้รับ การสถาปนา เป็นกรมหมื่น พิฆเณศวร สุรลังกาศ แล้วทรงผนวช เป็นสามเณช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๙ หลังจาก ลาผนวชแล้ว ประทับ ณ พระตำหนัก สวนกุหลาบ ในพระบรม มหาราชวัง ระหว่างนี้ สมเด็จพระบรม ชนกนาถ ทรงกวดขันดูแล ในเรื่อง ราชการแผ่นดินมากขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้เฝ้าปฏิบัติ ประจำพระองค์ นอกเหนือ จากเวลาเฝ้า ตามปรกติ เพื่อทรง รับฟังพระบรม ราโชวาท และ พระบรม ราชาธิบาย ในเรื่อง ราชการ และราชประเพณี ต่าง ๆ อยู่เสมอ ต่อมาปี พุทธศักราช ๒๔๑๐ เมื่อเลื่อน พระอิสริยยศ เป็น กรมขุน และ เปลี่ยนพระนามกรม เป็นกรมขุนพินิต ประชานาถแล้ว ทรงรับ หน้าที่ ในการบังคับ บัญชากรม มหาดเล็ก กรมทหารบก วังหน้า กรมล้อม พระราชวัง และ กรมพระคลัง มหาสมบัติ
หลังจาก พระบาท สมเด็จ พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว สวรรคต เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ ที่ประชุม เสนาบดี และ พระบรม วงศานุวงศ์ พร้อมใจกัน อัญเชิญ สมเด็จ เจ้าฟ้าชาย จุฬาลงกรณ์ฯ ขึ้นเถลิงถวัลย ราชสมบัติ มีพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ แต่เนื่องจาก ขณะนั้น พระองค์ ยังไม่บรรลุ พระราช นิติภาวะ สมเด็จ เจ้าพระยา มหาศรี สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขณะนั้น มีบรรดาศักดิ์ เป็นเจ้าพระยา ศรีสุรยวงศ์ จึงรับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดิน จนกระทั่ง ทรงบรรลุ พระราช นิติภาวะแล้ว ทรงผนวช เป็นพระภิกษุ เป็นเวลา ๒ สัปดาห์ แล้วจึงมีพิธีบรมราชา ภิเษก อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ และ นับจากนั้น มาก็ ทรงพระราช อำนาจเด็ดขาด ในการบริหารราชการ แผ่นดิน ซึ่งตลอด รัชสมัยของพระองค์ได้ ทรงบำเพ็ญ พระราช กรณียกิจ ต่าง ๆ อันก่อให้เกิด คุณประโยชน์ แก่ประเทศชาติ อย่างอเนกอนันต์ ทรงเป็น พระมหา กษัตริย์ ที่เปี่ยม ด้วยความสุขุม คัมภีรภาพ ทรงนำ ประเทศชาติ ให้รอดพ้น วิกฤตการณ์ และ สามารถธำรง เอกราชไว้ได้

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ด้านการปกครอง

ทรงฉายภาพหมู่ที่พระราชวังเบิร์นสตอร์ฟ
กรุงโคเปเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

ประทับในรถกับพระราชินีกรุงอิตาลี ในกรุงโรม

ด้านการปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น นักปกครอง ที่ทรงพระปรีชา สามารถยิ่ง ทรงเลือกประเพณีการปกครองของไทย แต่โบราณ ผสมผสาน กับ ประเพณี การปกครอง ของต่างประเทศ แล้วทรงปรับเปลี่ยนรูป แบบการปกครอง เป็นลำดับ ตาม สถานการณ์ และ ความเหมาะสม เริ่มจากการตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) ขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๗ และตั้งสภาองคมนตรี (Privy Council) ต่อมา
ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ ทรงแบ่งการบริหาราชการแผ่นดินตามหน้าที่ให้ชัดเจน ตั้งกรมใหม่อีก ๖ กรม รวมกับของเดิม ๖ กรม เป็น ๑๒ กรม กรมเหล่านี้ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๓๕ มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะเป็นกระทรวง มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง ในปลาย รัชกาล ปรับปรุงใหม่เหลือเพียง ๑๐ กระทรวง
ราชการส่วนภูมิภาคนั้น โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมณฑล เทศาภิบาล เป็นครั้งแรก ในพุทธศักราช ๒๔๓๗ โดยทยอยตั้งปีละ ๓-๔ มณฑล และต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งมณฑล ออกเป็น เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ ยัง โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมือง ยกเลิกการปกครองระบบ "กินเมือง" ให้เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครองรับพระราชทานเงินเดือนประจำและ มีการแต่งตั้ง เจ้าเมือง โดยยึดถือ ความรู้ ความสามารถ หแทนการสืบสายโลหิต

ด้านเศรษฐกิจ





ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
ทรงจัด ระเบียบเศรษฐกิจ ในรูปแบบใหม่ คือ ปรับปรุงการ เก็บภาษีอากร ให้รัดกุม ยิ่งขึ้น ในพุทธศักราช ๒๔๑๖ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง หอรัษฏากรพิพัฒน์ เพื่อเก็บรายได้ของ แผ่นดิน มารวมไว้แห่งเดียวกัน ซึ่งต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรง กำหนด พิกัดอักตราในการเก็บภาษีอากรใหม่ให้เสมอภาคกัน ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้มากกว่าเดิม
ในพุทธศักราช ๒๔๓๙ ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน ขึ้นเป็น ครั้งแรก ที่สำคัญคือทรงให้แยกเงินแผ่นดิน และ เงินส่วนพระองค์ ออกจากกัน โดยเด็ดขาด และ ในรัชกาลนี้การค้าขาย ขยายตัวกว้างขวางกว่าเดิม มีการทำ สนธิสัญญา ทางพระราช ไมตรี ระหว่างประเทศ ทรงปรับปรุง หน่วยเงินปลีก โดยโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกเงิน เฟื้อง เสี้ยว อัฐ และ โสฬส เปลี่ยนมาใช้ อัตรา ทศนิยม แทน สิ่งสำคัญ อีกประการหนึ่งคือ การจัดตั้ง ธนาคาร ขึ้นเป็นครั้งแรก คือ สยามกัมมาจล (ธนาคารไทย พาณิชย์ในปัจจุบัน) ผลจากการที่ พระองค์ทรงทำนุ บำรุงและปรับปรุง เศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ทำให้ประเทศ มีรายได้มากขึ้น สามารถนำมาใช้จ่าย ในการพัฒนาประเทศ อย่างได้ผล

ด้านกฎหมาย

ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดศาลสถิตยุติธรรม

การพิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ ในสมัย ร.๕

ด้านกฎหมาย และการศาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็น ความจำเป็น ที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย และ การศาสนา ของประเทศ ให้ทันสมัย เพื่อแก้ไขสันธิสัญญาต่าง ๆ ที่เราเสียเปรียบต่างประเทศอยู่ งานปฏิรูปกฎหมายขั้นแรกคือ การสถาปนากระทรวงยุติธรรม ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศาลโปริสภา (คือศาลแขวงในปัจจุบัน) และจัดตั้งศาลหัวเมืองโดยเริ่มที่ มณฑลกรุงเก่า เป็นแห่งแรกในปี พุทธศักราช ๒๔๓๙ ต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระธรรมนูญศาลยุติธรรมขึ้น
นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระพระราชกำหนดกฎหมาย ตลอดจน การตรา ประมวลกฎหมายขึ้นใหม่ ในพุทธศักราช ๒๔๕๑ มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ เป็นฉบับแรก ทรงสถาปนาโรงเรียนกฎหมาย และทรงส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชา กฎหมายในทวีปยุโรป เพื่อกลับมาพัฒนาปรับปรุงระบบการศาล และระบบกฎหมายไทยต่อมา

ด้านการต่างประเทศ

ทรงฉายรูปที่ฟาร์มประสมกุ้งที่เมืองออสเตนต์

เสด็จขึ้นจากเรือซักซันประพาสเมืองปอร์ตเสด ริมฝั่งของสุเอช
เมื่อ 21 เม.ย.2450

ทรงฉายภาพร่วมกับประธานาธิบดีสหพันธ์รัฐสวิตฯ

ทรงฉายภาพร่วมกับประธานธิบดีฝรั่งเศส

ด้านการต่างประเทศ
ในรัชสมัยของพระองค์ เป็นช่วงเวลาที่ลัทธิจักรวรรดิ นิยมตะวันตก กำลังแผ่อิทธิพล ครอบงำประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย พระองค์จำเป็น ต้อง ใช้วิเทโสบาย ในการทำสันธิ สัญญา กับ ประเทศตะวันตก ด้วยการ ยอมเสียดินแดนบางส่วนเพื่อแลกกับเอกราช ดังเช่น เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ เมื่อไทยเกิด กรณีพิพาท กับฝรั่งเศส นอกจากนี้ ทรงเล็งเห็น ความสำคัญ ของการ เจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศทั่วโลก มีการส่ง อัครราช ทูตไปประจำ ต่างประเทศ เป็น ครั้งแรกในพุทธศักราช ๒๔๒๔ ยิ่งไปกว่านั้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ยังได ้เสด็จ พระราชดำเนินประพาสประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ การเสด็จ พระราชดำเนิน ทวีปยุโรปถึง ๒ ครั้ง ในพุทธศักราช ๒๔๔๐ และพุทธศักราช ๒๔๕๐ ซึ่งนอกจาก จะได้รับ ประโยชน์ ในด้าน ความสัมพันธ ์ระหว่างประเทศแล้ว ยังทรงนำ ความเจริญต่าง ๆ มาปรับปรุง บ้านเมือง ให้พัฒนาก้าวหน้า ทรงเลือก แบบอย่างที่ดี เหล่านั้น มาเป็นแนวทาง ในการแก้ไข เปลี่ยนแปลง กิจการหลายอย่าง เช่น การศึกษา การปกครอง การคมนาคม การเศรษฐกิจ ทำให้ ประเทศไทย เริ่มเจริญทัดเทียม อารยประเทศ ในหลาย ๆ ด้าน

ด้านการทหาร

เสด็จพระราชดำเนินตรวจแถวทหารดับเพลิง กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมีเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ๒๔๔๐
การฝึกประลองยุทธ์ของเหล่าทหารบก ที่สนามหนองบัว จังหวัดนครราชสีมา
เมื่อ ร.ศ๑๒๖ (พ.ศ.๒๔๕๐)
กรมทหารปืนใหญ่ และกรมทหารม้าที่ ๕ เตรียม
ไปถวายตัวที่ สนามหนองบัว ร.ศ.๑๑๙

ด้านการทหาร และการป้องกันประเทศ
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เป็นช่วงที่บ้านเมืองอยู่ใน ภาวะอัตตรายจากภัยคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก พระองค์จึงต้องดำเนิน พระบรม ราโชบาทด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพ ด้วยการปรับปรุงประเทศ เป็บแบบสมัยใหม่ หลังจากเสด็จกลับจากสิงคโปร์และปัตตาเวีย ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๕ ทรงนำแบบอย่าง การทหารที่ชาวยุโรปวางรูปแบบไว้ในประเทศเหล่านั้น มาแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมใช้กับ ประเทศไทย เช่น การจัดแบ่งหน่วยทหารในกองทัพ เป็น ทหารบ และทหารเรือ ปรับปรุง อาวุธ ยุทโธปกรณ์ในกองทัพ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้รวมการบังคับบัญชาทหารบก ทหารเรือ เป็นกรมยุทธนาธิการ ซึ่งต่อมาคือ กระทรวงกลาโหม นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติ ลักษณะเกณฑ์ทหารขึ้น ในพุทธศักราช ๒๔๔๘ มีการจัดตั้งกรมเสนาธิการ ทหารบกเป็นครั้งแรก พระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยทหารบก และโรงเรียนนายเรือ การจัดซื้อและสร้างเรือรบ ตลอดจนทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชาทหาร ณ ทวีปยุโรป

ด้านสังคม

ด้านสังคม
การศึกษา พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ ให้พสก นิกร ทั้งปวงมีความรู้ ในสรรพวิชาการซึ่งจะนำไปสู่ การพัฒนาตนเอง และ บ้านเมือง นอกจาก จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๕ แล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการศึกษาออกสู่ประชาชน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร เป็นแห่งแรกที่วัดมหรรณพารามในพุทธศักราช ๒๔๒๗ และ ตลอดรัชสมัย ของพระองค์ มีโรงเรียนเกิดขึ้นจำนวนมากทั้งโรงเรียนหลวง โรงเรียนราษฎร์ รวมทั้ง โรงเรียนสำหรับสตรี และโรงเรียนฝึกหัดครู อันแสดงถึง น้ำพระราช หฤทัย ที่มีพระราช วิริยะอุตสาหะ ต่อการศึกษา ของชาติ นอกจากนี้ยัง ทรงริเริ่ม การจัดตั้ง หอพระสมุด พิพิธภัณฑ์สถาน และโบราณคดีสโมสร ด้วย
การศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน พระบรม ราชูปถัมภ์ แก่ทุกศาสนา ในส่วนศาสนาพุทธนั้น ทรงยึดมั่นและเลื่อมใสอย่างลึกซึง ปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ โปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคายนาและจัดพิมพ์ พระไตยปิฎก ฉบับภาษาไทย เป็นครั้งแรก แล้วให้ แจกจ่ายไปตามพระอารามและห้องสมุดต่าง ๆ ปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติ ปกครองคณะสงฆ์ เป็นฉบับแรก โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมหา จุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ สำหรับ พระสงฆ์ฝ่าย มหานิกาย และมหามกุฎราช วิทยาลัย ที่วัดบวรนิเวศ สำหรับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ นอกจากนี้ เมื่อเสด็จประพาส อินเดีย ในปี พุทธศักราช ๒๔๑๔ ยังทรงนำพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยา มาทรงปลูกไว้ที่ วัดเบญจมบพิตร และที่วัดอัษฎางคนิมิตร เกาะสีชัง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดต่าง ๆ เช่น สร้างวัดราชบพิธ เป็นวัดประจำรัชกาล วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร ฯลฯ รวมทั้ง การบูรณะปฎิสังขรณ์ วัดสำคัญต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เช่น วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นต้น
ประเพณีและวัฒนธรรม จากการที่ได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายครั้ง จึงทรงนำ ความเจริญ ต่าง ๆ มาปรับปรุงบ้านเมืองให้ ทันสมัยขึ้น เช่น ทรงปรับปรุง ประเพณี การหมอบคลาน เข้าเฝ้าฯ การไว้ทรงผม และการแต่งกาย โปรดเกล้าฯ ให้นำปฏิทินจันทรคติ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการใช้จุลศักราชมาใช้รัตนโกสินทร์ศกแทน ทรงเลิกประเพณี การมี พระมหาอุปราช หรือตำแหน่ง กรมพระราชวังบวร สถานมงคล โดยทรงตั้ง ตำแหน่ง สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร ขึ้นแทน
การเลิกทาส นับเป็นพระราช กรณียกิจ ที่สำคัญยิ่ง อย่างหนึ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ใไทย และประวัติศาสตร์โลก การเลิกทาสนี้ เป็น พระราช ประสงค์ตั้งแต่แรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า การมีทาส เป็น เครื่องถ่วงความเจริญ ของบ้านเมือง แต่การที่จะยกเลิก สิ่งที่เป็นประเพณี มาแต โบราณ กาลนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จึงทรงกำหนด แผนการเป็นขั้นตอน เพื่อให้ระบบทาสค่อย ๆ หายไปจาก สังคมไทย เริ่มด้วยการตรา " พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาษลูกไทย" ซึ่งกำหนดว่า ลูกทาส และ ลูกไทยที่ถูกขายตัวลงเป็นทาส ในรัชสมัยของพระองค์ คือ ตั้งแต่ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๑๑ อันเป็นปีเสด็จขึ้น เถลิงถวัลยราชสมบัติ และที่เกิดในปีต่อ ๆ มา เมื่ออายุ ครบ ๒๑ ปี จะต้องพ้นจากค่าตัวทาสมาเป็นไท พระองค์ได้พระราชทาน พระราช ทรัพย์ช่วย ไถ่ถอนทาส บางส่วนด้วย นอกจากนี้ทรงริเริ่มและ ขยายการศึกษา ให้คนทั่วไปได้รู้หนังสือ โปรดเกล้าฯ ให้เลิกบ่อนเบี้ย อันเป็น สาเหตุหนึ่งที่ ทำให้เกิดการ ซื้อขายทาส และต่อมา โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติเลิกทาส ในมณฑลต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จนกระทั่ง ถึงพุทธศักราช ๒๔๔๘ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔" ให้เลิกทาส ทั่วพระราชอาณาเขต พระบรม ราโชบาย ในการเลิกทาส แบบผ่อนปรน ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้จำนวนทาสลดลงตามลำดับ นับเป็นการเลิกทาสที่ปราศจากความ วุ่นวาย เสียเลือดเนื้อ ไม่เหมือนใน บางประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา ได้เกิดสงคราม กลางเมือง (Civil War) ระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ด้วยพระเกียรติคุณของพระองค์ มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์แห่งอังกฤษ ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ปริญญาทางกฎหมาย (Doctor of Law) กิตติมศักดิ์ แด่พระองค์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๕๐ นับเป็น พระมหากษัตริย ์พระองค์แรก ในทวีปเอเชีย ที่ได้รับการถวาย พระเกียรติเช่นนี้

ด้านคมนาคม

ร.๕ ทรงวางทางรถไฟ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา
สถานีรถไฟหัวลำโพง
ตึกที่ทำการไปรษณีย์สมัย ร.๕
บุรุษไปรษณีย์ และตู้ไปรษณีย์

ด้านคมนาคม สื่อสาร สาธารณูปโภค และสาธารณสุข

ตึกที่ทำการไปรษณีย์สมัย ร.๕ บุรุษไปรษณีย์ และตู้ไปรษณีย์
การคมนาคมและการสื่อสาร พระองค์มีพระราชดำริว่าการคมนาคม เป็นหัวใจสำคัญ ของการพัฒนาประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการคมนาคมและการสื่อสารที่สำคัญ ๆ จึ้นหลายอย่าง คือ การรถไฟ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ และ นครราชสีมาขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๓๓ ต่อมา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายอื่น ๆ อีกเช่น สายกรุงเทพฯ - เพชรบุรี และ กรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทรา เป็นต้น การตัดถนน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนขึ้นหลายสาย เช่น ถนนราชดำเนิน ถนนเยาวราช ถนนอุษากรรณ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานเชื่อมถนนข้ามคลองที่สำคัญ เช่น สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างสะพานเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๓๘ เป็นต้นมา โดยพระราชทาน นามสะพานขึ้นต้นด้วยคำว่า "เฉลิม" และตัวเลขต่อท้ายระบุ พระชนมพรรษา ในปีที่ทรงสร้าง รวมทั้งหมด ๑๗ สะพาน เช่น สะพานเฉลิมศรี ๔๒ สะพานเฉลิมศักดิ์ ๔๓ สะพานเฉลิมเกียรติ์ ๔๔ สะพานเฉลิมโลก ๕๕ ฯลฯ และสุดท้ายคือ สะพานเฉลิมวรรค์ ๕๘ นอกจากนั้นยัง โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง ขึ้นใหม่ และขุดลอกคลองเก่าเพื่อสะดวกในการสัญจรและการขนส่ง รวมทั้งประโยชน์ ในด้าน เกษตรกรรม และ การคมนาคม เช่น คลองรังสิต คลองทวีวัฒนา คลองเปรมประชากร คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรมย์ เป็นต้น
ปีพุทธศักราช ๒๔๑๑ โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างและดำเนินการโทรเลขขึ้น โทรเลข สายแรกในประเทศไทย คือ สายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ จัดตั้ง กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งเป็นการรวบรวม กรมโทรเลขและการไปรษณีย์ เข้าด้วยกัน
การสาธารณูปโภคและสาธารณสุข พระองค์มีพระราชดำริที่จะปรับปรุงการ สาธารณูปโภคและสาธารณสุข เพื่อให้ราษฎรมีสุขภาพ อนามัยที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชกำหนดสุขาภิบาล เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๐ เรียกว่า พระราชกำหนด สุขาภิบาล กรุงเทพฯ ร.ศ.๑๑๖ และต่อมาเกิด สุขาภิบาลหัวเมือง เป็น แห่งแรก ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนี้ยัง ทรงตราพระราชบัญญัติ และกฎหมายอื่น ๆ อีกหลายฉบับ เพื่อสุขภาพ อนามัยที่ดี ของประชาชน เช่น พระราชบัญญัติ สำหรับตรวจ ป้องกันโรคสัตว์-พาหนะ ร.ศ.๑๑๙ พระราช บัญญัติ ป้องกันสัญจรโรค ร.ศ.๑๒๗ ฯลฯ

สถานีรถไฟหัวลำโพง ร.๕ ทรงวางทางรถไฟ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา
นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนกิจการโรงพยาบาล ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ กำเนิด โรงพยาบาลศิริราช ปีพุทธศักราช ๒๔๓๒ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง โรงเรียนสอน วิชาแพทย์ แผนใหม่ที่ศิริราชพยาบาล ปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัย อนึ่ง ในปี พุทธศักราช ๒๔๓๖ เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ มีการสู้รบ ระหว่างไทย กับ ฝรั่งเศส ในดินแดน ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีทหารไทย บาดเจ็บ ล้มตายเป็น จำนวนมาก โดยไม่มี การรักษา พยาบาลเท่าที่ควร จึงทรงมีพระบรม ราชานุญาตให ้สมเด็จพระศรี พัชรินทราบรม ราชินีนาถ จัดตั้งสภา อุณาโลมแดง ปัจจุบันคือ สภากาชาดไทย ตามความริเริ่ม ของท่านผู้หญิง เปลี่ยน ภาสกรวงศ์ โดยสมเด็จ พระนางเจ้า สว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เป็นสภาชนนี และ พระนางเจ้า เสาวภา ผ่องศรี พระราชเทวี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงเป็นสภาพ นายิกา

ด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม

ด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม
วรรณกรรม พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงเชี่ยวชาญ ในทาง อักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง บทพระราชนิพนธ์ มีเป็น จำนวนมาก ทั้งร้อยแก้ว และ ร้อยกรอง รวมทั้ง จดหมายเหตุรายวัน พระราชหัตถเลขา พระบรม ราชาธิบาย และพระราช วิจารณ์ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้ว แต่มีคุณค่า ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกวีเอกที่ยิ่งใหญ่พระองหนึ่งในแผ่นดินสยาม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้อย่างมากมาย พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน ที่ได้รับความนิยมและใช้เป็นส่วนหนึ่งของแบบเรียนคือ

1. ลิลิตนิทราชาคริต ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ.2421 โดยใช้ทำนองแต่งด้วยโครงสี่สุภาพ อาศัยเค้าโครงเรื่องจากนิทานอาหรับโบราณ ทรงพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อ พระราชทานให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

2. พระราชพิธีสิบสองเดือน ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ.2431 ลงพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือวชิรญาณ ใช้สำนวนร้อยแก้ว เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน

3. บทละครเรื่อง เงาะป่า ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ.2448 ในขณะที่ทรงพระประชวรพระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นบทละคร พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาจนทุกวันนี้

4. ไกลบ้าน ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2449 เป็นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานพดล เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในครั้งที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้วโดยเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้มีโอกาสได้ทอดพระเนตรในระหว่าง 9 เดือน ที่เสด็จประพาสยุโรป

5. พระราชวิจารณ์ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยจุดประสงค์ในการพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อพระราชทานเป็นความรู้แก่นักวิชาการ ที่ต้องการค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านในเรื่องด้านต่างๆ ลักษณะของงานพระราชนิพนธ์ฉบับนี้ มีลักษณะคล้ายกับจดหมายเหตุ

ศิลปกรรม และ สถาปัตยกรรม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่ ๆ เป็นตึกขึ้น หลายองค์ แทนพระที่นั่งเดิมซึ่งทำด้วยไม้และเริ่มผุพัง ที่สำคัญที่สุด คือ พระที่นั่งจักรี มหาปราสาท ในพระบรม มหาราชวัง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม ที่แปลก และ งดงามมาก ตอนปลายรัชกาล โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระราชวังดุสิต พร้อมทั้งสร้าง ถนนติดต่อ ระหว่าง พระบรมมหาราชวัง กับ พระราชวังดุสิต พระราชทานนามว่า ถนนราชดำเนิน นอกจากนี้ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระที่นั่งอนันต สมาคม เป็นตึกหินอ่อน ขนาดใหญ่ พระที่นั่งองค์นี้แล้ว เสร็จในรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีความปรารถนาจะส่งเสริม วรรณกรรม และ กวีของชาติให้เจริญก้าวหน้า ยิ่งขึ้นโดยลำดับ ทั้งพระองค์เองก็ทรงเป็นนักกวีที่สามารถ ดังจะเห็นว่า พระองค์ทรงประพันธ์โคลงสี่สุภาพ เป็นคติสอนใจประชาชนไว้จำนวนมาก นอกจากจะไพเราะจับใจแล้ว พระราชนิพนธ์ของพระองค์ทุกบทแฝงด้วยคติธรรมที่ดีงาม ทั้งสิ้น ดังเช่นโคลงบทหนึ่ง
ความรู้คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญาประดุจดัง อาวุธ
คุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม

การเสด็จประพาสต้น

ทรงฉายร่วมกับพระราชโอรสที่ศึกษาวิชาการอยู่ในยุโรป
ทรงฉายกับสมเด็จพระราชินีมาเรียครสิตินา แห่งสเปน และพระบรมวงศานุวงศ์
เสด็จประพาสโรงทำปืนใหญ่ ของลอร์ดอาร์สตรอง เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ
ทรงฉายกับพระเจ้าฟร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย
การเสด็จประพาสต้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสยิ่งนัก พระองค์ทรงเสด็จประพาสทั้งเป็นทางกาและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้งทำให้ทรงได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมายทั้งที่ดีและไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ท่านได้นำมาพัฒนาบ้านเมืองให้เกิดความเจริญขึ้น จะเห็นได้จากที่พระองค์ทรงพระราชดำริในการเสด็จประพาสในแต่ละครั้ง

ในปี พ.ศ. 2413 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในประเทศเพื่อบ้านใกล้เคียง คือ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศชวา ด้วยทรงต้องการที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีนด้วย และเพื่อเรียนรู้การปกครองเนื่องด้วยประเทศทั้งสองนี้ต่างก็เป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2415 ทรงได้เสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 ประเทศ คือประเทศอินเดีย และประเทศพม่า และเมื่อที่เสด็จไปประเทศอินเดียนั้น ทรงได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุและพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาอินเดีย เพื่อนำกลับมาปลูกในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการทำนุบำรุงพระศาสนาให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น

ด้วยในขณะนั้นประเทศในแถบอินโดจีนได้รับการรุกรานจากประเทศมหาอำนาจจากตะวันตกและด้วยประเทศในแถบอินโดจีนนั้นเป็นปรเทศที่ด้วยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่า รวมถึงประเทศไทยก็กำลังต้องเผชิญกับสภาวะนี้อยู่เช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระองค์ในกาลนี้ พระองค์จึงตั้งพระทัยที่จะเสด็จประพาสยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น


เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง จัดเป็นพระราชกรณียกิจเฉพาะพระองค์ เนื่องจาก มีพระราชประสงค์ที่จะสอดส่องดูแล ทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด โปรดเกล้าฯ ให้จัดการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการลับ ทรงแต่งพระองค์อย่างสามัญชน เสด็จพระราช ดำเนินด้วยรถไฟบ้าง เรือมาดเก๋ง ๔ แจวบ้าง เรือประทุน ๔ แจวบ้าง เพื่อทอดพระเนตรชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร และการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ พระองค์ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนอย่างยิ่งของพสกนิกรทั้งปวง ซึ่งพร้อมใจกันถวาย พระสมัญญา นามว่า "พระปิยมหาราช" และร่วมกันออกทุนทรัพย์สร้างพระบรมรูปทรงม้า ไว้ที่ลาน พระราชวังดุสิต เพื่อเป็นที่เคารพสักการะอยู่ ชั่วนิรันดร์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรด้วยโรคพระวักกะพิการ สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ ๔๒ ปี

พระบรมราชานุสาวรีย์



พระบรมราชานุสาวรีย์
รัชสมัยอันยาวนานในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นระยะที่แนวความคิดทางการเมือง การทหาร และวัฒนธรรมทางตะวันตกกำลังหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดระยะ จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงประเพณีหลายอย่างเกิดขึ้น ทรงยกเลิกและปรับปรุงแนวความคิดบางอย่างที่ไม่ดีแต่เดิม ให้เป็นแนวความคิดที่ก้าวหน้าขึ้น การที่พระองค์ได้ทรงเสด็ตประพาสไปตามสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นในพระราชอาณาจักร หรือในต่างประเทศทั้งในแถบเอเซียและยุโรป ทรงไดนำสิ่งที่พบเห็นต่างๆไม่ว่าจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ วัฒนธรรมประเพณี การปกครอง เหล่านี้ มาปรับปรุงแก้ไขสร้างความเจริญให้กับประเทศไทยอย่างยิ่ง พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากชาวต่างประเทศในพระปรีชาสามารถว่า ทรงเป็นนักปกคลองและนักการทูตที่ยิ่งใหญ่ ทรงตัดสินพระทัยด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลถึงแม้ว่าวัฒนธรรมตะวันตกกำลังคุกคามประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นก็ตาม ทรงยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงของความเจริญในประเทศตะวันตก ด้วยการยอมรับแบบแผนที่เรียกว่า ศิวิไลซ์ พระองค์ทรงใช้วิจารณญาณในการประยุกต์อารยธรรมตะวันตกให้ผสมผสานเข้ากับสังคมไทยอย่างมีชั้นเชิง ทั้งนี้พระองค์ทรงยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระปิยะมหาราช”

และในวโรกาสที่ทรงคลองราชย์ครบ 40 ปี เสนาบดีได้ปรึกษาหารือในการสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาถวาย โดยสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นเพื่อถวาย โดยสร้างเป็นพระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐานอยู่ ณ ลานพระบรมราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นวันรัชมังคลาภิเษกด้วย