Wednesday 20 August 2008

ด้านคมนาคม

ร.๕ ทรงวางทางรถไฟ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา
สถานีรถไฟหัวลำโพง
ตึกที่ทำการไปรษณีย์สมัย ร.๕
บุรุษไปรษณีย์ และตู้ไปรษณีย์

ด้านคมนาคม สื่อสาร สาธารณูปโภค และสาธารณสุข

ตึกที่ทำการไปรษณีย์สมัย ร.๕ บุรุษไปรษณีย์ และตู้ไปรษณีย์
การคมนาคมและการสื่อสาร พระองค์มีพระราชดำริว่าการคมนาคม เป็นหัวใจสำคัญ ของการพัฒนาประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการคมนาคมและการสื่อสารที่สำคัญ ๆ จึ้นหลายอย่าง คือ การรถไฟ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ และ นครราชสีมาขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๓๓ ต่อมา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายอื่น ๆ อีกเช่น สายกรุงเทพฯ - เพชรบุรี และ กรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทรา เป็นต้น การตัดถนน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนขึ้นหลายสาย เช่น ถนนราชดำเนิน ถนนเยาวราช ถนนอุษากรรณ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานเชื่อมถนนข้ามคลองที่สำคัญ เช่น สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างสะพานเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๓๘ เป็นต้นมา โดยพระราชทาน นามสะพานขึ้นต้นด้วยคำว่า "เฉลิม" และตัวเลขต่อท้ายระบุ พระชนมพรรษา ในปีที่ทรงสร้าง รวมทั้งหมด ๑๗ สะพาน เช่น สะพานเฉลิมศรี ๔๒ สะพานเฉลิมศักดิ์ ๔๓ สะพานเฉลิมเกียรติ์ ๔๔ สะพานเฉลิมโลก ๕๕ ฯลฯ และสุดท้ายคือ สะพานเฉลิมวรรค์ ๕๘ นอกจากนั้นยัง โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง ขึ้นใหม่ และขุดลอกคลองเก่าเพื่อสะดวกในการสัญจรและการขนส่ง รวมทั้งประโยชน์ ในด้าน เกษตรกรรม และ การคมนาคม เช่น คลองรังสิต คลองทวีวัฒนา คลองเปรมประชากร คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรมย์ เป็นต้น
ปีพุทธศักราช ๒๔๑๑ โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างและดำเนินการโทรเลขขึ้น โทรเลข สายแรกในประเทศไทย คือ สายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ จัดตั้ง กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งเป็นการรวบรวม กรมโทรเลขและการไปรษณีย์ เข้าด้วยกัน
การสาธารณูปโภคและสาธารณสุข พระองค์มีพระราชดำริที่จะปรับปรุงการ สาธารณูปโภคและสาธารณสุข เพื่อให้ราษฎรมีสุขภาพ อนามัยที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชกำหนดสุขาภิบาล เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๐ เรียกว่า พระราชกำหนด สุขาภิบาล กรุงเทพฯ ร.ศ.๑๑๖ และต่อมาเกิด สุขาภิบาลหัวเมือง เป็น แห่งแรก ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนี้ยัง ทรงตราพระราชบัญญัติ และกฎหมายอื่น ๆ อีกหลายฉบับ เพื่อสุขภาพ อนามัยที่ดี ของประชาชน เช่น พระราชบัญญัติ สำหรับตรวจ ป้องกันโรคสัตว์-พาหนะ ร.ศ.๑๑๙ พระราช บัญญัติ ป้องกันสัญจรโรค ร.ศ.๑๒๗ ฯลฯ

สถานีรถไฟหัวลำโพง ร.๕ ทรงวางทางรถไฟ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา
นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนกิจการโรงพยาบาล ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ กำเนิด โรงพยาบาลศิริราช ปีพุทธศักราช ๒๔๓๒ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง โรงเรียนสอน วิชาแพทย์ แผนใหม่ที่ศิริราชพยาบาล ปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัย อนึ่ง ในปี พุทธศักราช ๒๔๓๖ เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ มีการสู้รบ ระหว่างไทย กับ ฝรั่งเศส ในดินแดน ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีทหารไทย บาดเจ็บ ล้มตายเป็น จำนวนมาก โดยไม่มี การรักษา พยาบาลเท่าที่ควร จึงทรงมีพระบรม ราชานุญาตให ้สมเด็จพระศรี พัชรินทราบรม ราชินีนาถ จัดตั้งสภา อุณาโลมแดง ปัจจุบันคือ สภากาชาดไทย ตามความริเริ่ม ของท่านผู้หญิง เปลี่ยน ภาสกรวงศ์ โดยสมเด็จ พระนางเจ้า สว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เป็นสภาชนนี และ พระนางเจ้า เสาวภา ผ่องศรี พระราชเทวี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงเป็นสภาพ นายิกา