Wednesday 20 August 2008

ด้านเศรษฐกิจ





ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
ทรงจัด ระเบียบเศรษฐกิจ ในรูปแบบใหม่ คือ ปรับปรุงการ เก็บภาษีอากร ให้รัดกุม ยิ่งขึ้น ในพุทธศักราช ๒๔๑๖ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง หอรัษฏากรพิพัฒน์ เพื่อเก็บรายได้ของ แผ่นดิน มารวมไว้แห่งเดียวกัน ซึ่งต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรง กำหนด พิกัดอักตราในการเก็บภาษีอากรใหม่ให้เสมอภาคกัน ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้มากกว่าเดิม
ในพุทธศักราช ๒๔๓๙ ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน ขึ้นเป็น ครั้งแรก ที่สำคัญคือทรงให้แยกเงินแผ่นดิน และ เงินส่วนพระองค์ ออกจากกัน โดยเด็ดขาด และ ในรัชกาลนี้การค้าขาย ขยายตัวกว้างขวางกว่าเดิม มีการทำ สนธิสัญญา ทางพระราช ไมตรี ระหว่างประเทศ ทรงปรับปรุง หน่วยเงินปลีก โดยโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกเงิน เฟื้อง เสี้ยว อัฐ และ โสฬส เปลี่ยนมาใช้ อัตรา ทศนิยม แทน สิ่งสำคัญ อีกประการหนึ่งคือ การจัดตั้ง ธนาคาร ขึ้นเป็นครั้งแรก คือ สยามกัมมาจล (ธนาคารไทย พาณิชย์ในปัจจุบัน) ผลจากการที่ พระองค์ทรงทำนุ บำรุงและปรับปรุง เศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ทำให้ประเทศ มีรายได้มากขึ้น สามารถนำมาใช้จ่าย ในการพัฒนาประเทศ อย่างได้ผล