Wednesday 20 August 2008

ด้านสังคม

ด้านสังคม
การศึกษา พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ ให้พสก นิกร ทั้งปวงมีความรู้ ในสรรพวิชาการซึ่งจะนำไปสู่ การพัฒนาตนเอง และ บ้านเมือง นอกจาก จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๕ แล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการศึกษาออกสู่ประชาชน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร เป็นแห่งแรกที่วัดมหรรณพารามในพุทธศักราช ๒๔๒๗ และ ตลอดรัชสมัย ของพระองค์ มีโรงเรียนเกิดขึ้นจำนวนมากทั้งโรงเรียนหลวง โรงเรียนราษฎร์ รวมทั้ง โรงเรียนสำหรับสตรี และโรงเรียนฝึกหัดครู อันแสดงถึง น้ำพระราช หฤทัย ที่มีพระราช วิริยะอุตสาหะ ต่อการศึกษา ของชาติ นอกจากนี้ยัง ทรงริเริ่ม การจัดตั้ง หอพระสมุด พิพิธภัณฑ์สถาน และโบราณคดีสโมสร ด้วย
การศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน พระบรม ราชูปถัมภ์ แก่ทุกศาสนา ในส่วนศาสนาพุทธนั้น ทรงยึดมั่นและเลื่อมใสอย่างลึกซึง ปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ โปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคายนาและจัดพิมพ์ พระไตยปิฎก ฉบับภาษาไทย เป็นครั้งแรก แล้วให้ แจกจ่ายไปตามพระอารามและห้องสมุดต่าง ๆ ปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติ ปกครองคณะสงฆ์ เป็นฉบับแรก โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมหา จุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ สำหรับ พระสงฆ์ฝ่าย มหานิกาย และมหามกุฎราช วิทยาลัย ที่วัดบวรนิเวศ สำหรับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ นอกจากนี้ เมื่อเสด็จประพาส อินเดีย ในปี พุทธศักราช ๒๔๑๔ ยังทรงนำพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยา มาทรงปลูกไว้ที่ วัดเบญจมบพิตร และที่วัดอัษฎางคนิมิตร เกาะสีชัง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดต่าง ๆ เช่น สร้างวัดราชบพิธ เป็นวัดประจำรัชกาล วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร ฯลฯ รวมทั้ง การบูรณะปฎิสังขรณ์ วัดสำคัญต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เช่น วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นต้น
ประเพณีและวัฒนธรรม จากการที่ได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายครั้ง จึงทรงนำ ความเจริญ ต่าง ๆ มาปรับปรุงบ้านเมืองให้ ทันสมัยขึ้น เช่น ทรงปรับปรุง ประเพณี การหมอบคลาน เข้าเฝ้าฯ การไว้ทรงผม และการแต่งกาย โปรดเกล้าฯ ให้นำปฏิทินจันทรคติ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการใช้จุลศักราชมาใช้รัตนโกสินทร์ศกแทน ทรงเลิกประเพณี การมี พระมหาอุปราช หรือตำแหน่ง กรมพระราชวังบวร สถานมงคล โดยทรงตั้ง ตำแหน่ง สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร ขึ้นแทน
การเลิกทาส นับเป็นพระราช กรณียกิจ ที่สำคัญยิ่ง อย่างหนึ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ เป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ใไทย และประวัติศาสตร์โลก การเลิกทาสนี้ เป็น พระราช ประสงค์ตั้งแต่แรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า การมีทาส เป็น เครื่องถ่วงความเจริญ ของบ้านเมือง แต่การที่จะยกเลิก สิ่งที่เป็นประเพณี มาแต โบราณ กาลนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จึงทรงกำหนด แผนการเป็นขั้นตอน เพื่อให้ระบบทาสค่อย ๆ หายไปจาก สังคมไทย เริ่มด้วยการตรา " พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาษลูกไทย" ซึ่งกำหนดว่า ลูกทาส และ ลูกไทยที่ถูกขายตัวลงเป็นทาส ในรัชสมัยของพระองค์ คือ ตั้งแต่ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๑๑ อันเป็นปีเสด็จขึ้น เถลิงถวัลยราชสมบัติ และที่เกิดในปีต่อ ๆ มา เมื่ออายุ ครบ ๒๑ ปี จะต้องพ้นจากค่าตัวทาสมาเป็นไท พระองค์ได้พระราชทาน พระราช ทรัพย์ช่วย ไถ่ถอนทาส บางส่วนด้วย นอกจากนี้ทรงริเริ่มและ ขยายการศึกษา ให้คนทั่วไปได้รู้หนังสือ โปรดเกล้าฯ ให้เลิกบ่อนเบี้ย อันเป็น สาเหตุหนึ่งที่ ทำให้เกิดการ ซื้อขายทาส และต่อมา โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติเลิกทาส ในมณฑลต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จนกระทั่ง ถึงพุทธศักราช ๒๔๔๘ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔" ให้เลิกทาส ทั่วพระราชอาณาเขต พระบรม ราโชบาย ในการเลิกทาส แบบผ่อนปรน ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้จำนวนทาสลดลงตามลำดับ นับเป็นการเลิกทาสที่ปราศจากความ วุ่นวาย เสียเลือดเนื้อ ไม่เหมือนใน บางประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา ได้เกิดสงคราม กลางเมือง (Civil War) ระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ด้วยพระเกียรติคุณของพระองค์ มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์แห่งอังกฤษ ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ปริญญาทางกฎหมาย (Doctor of Law) กิตติมศักดิ์ แด่พระองค์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๕๐ นับเป็น พระมหากษัตริย ์พระองค์แรก ในทวีปเอเชีย ที่ได้รับการถวาย พระเกียรติเช่นนี้